ทำไมต้องไปเรียนมัธยมที่อเมริกา? Why US High Schools?
หนึ่งในประเทศที่ผู้ปกครองและน้องๆ มักนึกถึงและใฝ่ฝันในการไปเรียนต่อต่างประเทศย่อมหนีไม่พ้นการไปเรียนต่อ High School ที่อเมริกา ซึ่งมีความก้าวล้ำทางด้านการศึกษาและวิชาการเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นประเทศสหรัฐอเมริกายังถือเป็นผู้นำในด้านการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่เด็กนักเรียนไทยให้ความสนใจศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก
ไม่เพียงเท่านั้น ระบบการศึกษาระดับมัธยมที่อเมริกายังไม่เป็นแต่เพียงการสอนภายในห้องเรียนทางด้านวิชาการเท่านั้น แต่ยังมีวิชาเลือกที่หลากหลายให้นักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง ซึ่งเมื่อจบการศึกษามปลายที่อเมริกาแล้ว นักเรียนสามารถออกไปทำงานได้ หรือสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ซึ่งก็มีมหาวิทยาลัยชั้นนำและเป็นมหาวิทยาลัยในฝันของน้องๆ หลายๆ คนอีกด้วย
สำหรับในส่วนของค่าใช้จ่าย ประเทศสหรัฐอเมริกาก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีโรงเรียนที่สามารถรับนักเรียนต่างชาติเข้าเรียนได้ โดยมีงบประมาณที่หลากหลาย โดยเริ่มต้นตั้งแต่ 20,000 เหรียญขึ้นไป
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองและน้องๆ ในการเลือกไปเรียนต่อ High School ที่อเมริกา
การเตรียมตัวไปเรียน High School ที่อเมริกา
- เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับตัวเอง เนื่องจากการไปเรียนต่อ High School ที่อเมริกานั้น นักเรียนสามารถเลือกไปเรียนโรงเรียนรัฐบาลภายใต้โครงการแลกเปลี่ยน J-1 (ไม่เกิน 1 ปี) หรือจะไปเรียนจนจบการศึกษาภายใต้วีซ่า F-1
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรมัธยมของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ในคลิปการเรียนต่อมัธยมที่อเมริกาด้านล่าง
- สอบถามข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการออกแบบ และเตรียมตัวนักเรียนก่อนเดินทางไปเรียน High School ที่อเมริกา อย่างน้อยล่วงหน้า 6 เดือนก่อนเดินทาง โดยน้องๆ สามารถแจ้งความต้องการ เมือง ประเภทที่พัก ขนาดโรงเรียน และความต้องการอื่นๆ ที่เหมาะสมกับตัวเองเพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่หาโรงเรียนที่เหมาะสมให้
- การเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาอังกฤษ ในปัจจุบัน นักเรียนไทยมักมีระดับภาษาอังกฤษที่สามารถฟังและพูดในชีวิตประจำวันได้ อย่างไรก็ตาม การไปเรียนต่อมัธยมที่อเมริกานั้น นักเรียนควรจะต้องเตรียมความพร้อมทางด้าน Academic English ทั้งเรื่องของการฟัง พูด อ่าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ Academic Writing โดยผู้ปกครองสามารถจัดหาคอร์สเรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างชาติที่เมืองไทย
- เตรียมความพร้อมทางด้านวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาพื้นฐานเช่น คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้คนไทยมักมีความคิดว่าไปเรียนต่างประเทศนั้นเรียนง่ายกว่าที่ประเทศไทย แต่ในความเป็นจริงแล้วในปัจจุบันการเรียนในต่างประเทศไม่ได้เรียนง่ายกว่าในประเทศไทย นักเรียนควรจำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนไปเรียนต่อที่อเมริกาทั้งในส่วนของทักษะภาษาอังกฤษและเนื้อหาวิชาการตามที่กล่าวไป
- เตรียมความพร้อมทางด้านระเบียบวินัย และการเรียนรู้ที่จะอยู่ได้ด้วยตัวเอง ทั้งนี้ ผู้ปกครองอาจส่งน้องไปเรียนซัมเมอร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอาจะเป็นการเรียนเพียงแค่ Study Tour English Program หรือเป็นการเรียน Academic Program ซึ่งผู้ปกครองสามารถสอบถามข้อมูลได้กับทาง GENT ในการช่วยวางแผนก่อนเดินทางไปเรียนต่อ High School ที่อเมริกา
ผู้ปกครองบางท่านอาจมองว่าการไปซัมเมอร์ต่างประเทศเป็นเพียงการไปเที่ยวสำหรับนักเรียนช่วงปิดเทอม อย่างไรก็ตาม หากผู้ปกครองมีแพลนที่จะส่งน้องไปเรียนมัธยมที่ต่างประเทศแล้ว การเลือกโปรแกรมซัมเมอร์ที่ถูกจัดขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ มีกรุ๊ปลีดเดอร์ที่มีความเข้าใจและมีประสบการณ์ จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมนักเรียนไม่เพียงแต่การได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน แต่จะเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสังคม การเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตด้วยตัวเองอีกด้วย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมนักเรียนก่อนไปเรียนต่อมัธยมที่อเมริกา (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมซัมเมอร์ที่น่าสนใจได้ที่นี่ Click here)
เรียนต่อมัธยมที่อเมริกา มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
สำหรับในส่วนของค่าใช้จ่ายก็มีให้เลือกได้หลากหลายตามงบประมาณที่ผู้ปกครองตั้งเอาไว้ โดยปรกติแล้ว นักเรียนต่างชาติสามารถเรียนได้เฉพาะในโรงเรียนเอกชน หากต้องการเรียนจนจบการศึกษาภายใต้วีซ่า F-1 อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเรียนมปลายในประเทศไทยมักให้ความนิยมในการไปโครงการแลกเปลี่ยน โดยเป็นการเรียนมปลายที่อเมริกาในโรงเรียนรัฐบาลผ่านโครงการแลกเปลี่ยนแบบ J-1 โดยจะเรียนได้เพียง 1 ปีเท่านั้น แต่ก็เป็นโครงการที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง เพียงแค่ประมาณ 5 แสนบาทขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการ J-1 มักมีข้อจำกัดโดยนักเรียนไม่สามารถเรียนต่อในระยะยาวได้ เนื่องจากเป็นการเรียนในโรงเรียนรัฐบาลผ่านวีซ่าแบบ J-1 ดังนั้น นักเรียนในโครงการ J-1 ถ้าหากมีความประสงค์ต้องการเรียนต่อในปีที่ 2 จะต้องทำการย้ายโรงเรียนเพื่อไปเรียนในโรงเรียนเอกชนและกลับมาสมัครวีซ่าใหม่เป็นแบบ F-1
สำหรับการไปเรียนต่อมัธยมที่อเมริกาแบบระยะยาวนั้น นักเรียนสามารถไปเรียนได้โดยใช้วีซ่า F-1 โดยน้องๆ จะไปเรียนในโรงเรียนเอกชนซึ่งสามารถเรียนได้จนจบการศึกษา แต่ค่าใช้จ่ายอาจจะสูงขึ้นมาและมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป โดยมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ประมาณ 6 แสนบาทขึ้นไปสำหรับการพักอยู่กับโฮสต์แฟมิลี่ (Day school) หรือการไปเรียนที่โรงเรียนประจำ (Boarding School) ก็จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 8 แสนบาทขึ้นไป
สำหรับค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการไปเรียนต่อมัธยมที่อเมริกามีดังนี้
- ค่าเรียน (Tuition Fee) เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีความแตกต่างในด้านค่าครองชีพและนโยบายของรัฐท้องถิ่น ทำให้ค่าเทอมของโรงเรียนมัธยมที่อเมริกานั้นมีความหลากหลายและแตกต่างกันพอสมควร โดยมีค่าเล่าเรียนเริ่มต้นที่ประมาณ 10,000 เหรียญสหรัฐขึ้นไปจนถึง 4-5 หมื่นเหรียญสหรัฐกันเลยทีเดียว โดยหากเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเมืองใหญ่ และเป็นโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียงแล้ว ค่าเล่าเรียนก็จะแพงกว่าโดยเปรียบเทียบกับโรงเรียนที่อยู่ในเมืองเล็กๆ
- ค่าที่พัก (Accommodation Fee) สำหรับโรงเรียนมัธยมในอเมริกานั้นมี 2 แบบ แบ่งตามประเภทที่พักคือ
- Boarding School เป็นโรงเรียนประจำที่มีหอพักอยู่ในบริเวณโรงเรียน สำหรับค่าที่พักแบบหอพักนี้จะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 15,000 เหรียญขึ้นไปต่อปีการศึกษา
- Host Family สำหรับนักเรียนที่อยากประหยัดค่าใช้จ่าย ก็สามารถเลือกเรียนโรงเรียนแบบ Day School และเลือกพักกับโฮสต์แฟมิลี่ได้ โดยค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ประมาณ 10,000 เหรียญต่อปีการศึกษา
- ค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ อาทิเช่น Insurance, Deposit Fee, ค่าตั๋วเครื่องบิน และค่าใช้จ่ายส่วนตัว เป็นต้น อีกประมาณเดือนละ 200 - 400 เหรียญต่อเดือน จำนวนการเรียนทั้งสิ้น 10 เดือนต่อ 1 ปีการศึกษา
โดยสรุปแล้ว ผู้ปกครองควรมีงบประมาณอย่างน้อย 20,000 - 25,000 เหรียญต่อ 1 ปีการศึกษา สำหรับการส่งบุตรหลานไปเรียนมัธยมที่อเมริกา
ข้อมูลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา
ระบบการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา
สำหรับท่านผู้ปกครองหรือน้องๆนักเรียนที่กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการไปเรียนต่อมัธยมที่อเมริกา ทาง GENT ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา และรายชื่อโรงเรียนมัธยมในสหรัฐอเมริกา เพื่อให้น้องๆและผู้ปกครอง มีความเข้าใจมากขึ้น ก่อนตัดสินใจไป “เรียนต่ออเมริกา”
ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านการเรียนการสอนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเน้นเรื่องของการเป็นตัวของตัวเองและมีอิสระทางความคิดและคำพูดภายใต้การให้เกียรติและเคารพต่อตนเองและบุคคลอื่น จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนที่ต้องการใช้ชีวิตด้วยตัวเอง พึ่งพาตัวเองได้ โดยโครงสร้างระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาแบ่งออกเป็น 4 ช่วงได้แก่
1. ระดับประถมศึกษา (Primary School): Grade 1 – 6 สำหรับนักเรียนอายุประมาณ 5 – 12 ปี
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Middle School): Grade 7 – 8 สำหรับนักเรียนอายุประมาณ 13 – 14 ปี
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (High School): Grade 9 - 12 สำหรับนักเรียนอายุ 15 - 18 ปี
4. ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี โท และ เอก ทั้งนี้สำหรับการเรียนปริญญาตรีนั้น นักเรียนสามารถเลือกเรียนในรูปแบบของการเรียนแบบอนุปริญญาได้ กล่าวคือ นักเรียนสามารถเลือกเรียนในวิทยาลัยชุมชน (Community College) เป็นระยะเวลา 2 ปี ก่อนที่จะ Transfer ย้ายที่เรียนเพื่อไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีในชั้นปีที่ 3 และ 4 ในมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลในเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งการเรียนในระดับปริญญาตรีในชั้นปีที่ 1 และ 2 ที่วิทยาลัยชุมชน (Community College) นั้นจะมีค่าเล่าเรียนที่ถูกกว่าการเรียนในมหาวิทยาลัย 4 ปี
หลักสูตรการเรียนต่อมัธยมที่อเมริกา
สำหรับการเรียนมัธยมในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น โดยทั่วไป หากนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนและสามารถจบการศึกษาในระดับชั้น Grade 12 ได้ นักเรียนจะได้ใบประกาศนียบัตรหรือที่เรียกว่า High School Diploma ซึ่งสามารถนำเกรดและใบประกาศนียบัตรไปยื่นเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อได้
นอกจากวุฒิการศึกษา High School Diploma ซึ่งเป็นวุฒิการศึกษาพื้นฐานของโรงเรียนมัธยมในอเมริกาแล้ว สำหรับบางโรงเรียนอาจมีการนำเสนอการเรียนการสอนในหลักสูตร IB ซึ่งเป็นหลักสูตรหนึ่งที่ได้รับความนิยมด้วยเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเรียนบางคนที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียน โดยทำการเรียนรู้นอกระบบการศึกษา ก็สามารถที่จะสอบให้จบและได้ใบประกาศนียบัตรได้เช่นกัน โดยจะได้วุฒิการศึกษาที่เรียกว่า General Education Diploma (GED) ซึ่งมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในหลักสูตรนานาชาติ รวมถึงมหาวิทยาลัยหลายๆ ที่ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ให้การยอมรับเช่นกัน
ทั้งนี้ สำหรับนักเรียนที่เรียนในระบบนั้น โดยทั่วไปแล้วการเรียนการสอนของนักเรียนจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ
- Advance Placement (AP) นักเรียนสามารถลงเรียน AP ในรายวิชาที่ตัวเองมีความถนัด โดยในเนื้อหารายวิชาก็จะมีรายละเอียดที่ลงลึกลงไป และมีความยากมากขึ้น เพื่อแลกการคะแนนเกรดที่มีค่าน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งจะทำให้คะแนน GPA นั้นมีค่าสูงขึ้นตามไปด้วย โดยมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกามักจะให้ความสำคัญกับนักเรียนที่เรียนในระดับ Advance Placement อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ทุกโรงเรียนมัธยมในประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะมีการเรียนการสอนในระดับ AP แต่ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการเรียนการสอนในระดับ AP ในโรงเรียน ทางโรงเรียนก็อาจมีทางเลือกในการให้ลงเรียน AP แบบ Online Class ได้เช่นกัน
- Honor Class สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถุในระดับทั่วไป อาจจะไม่สามารถเข้าเรียนได้ถึงในระดับ AP แต่ก็มีความต้องการเก็บคะแนนสะสะม GPA เพื่อนำไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต
- College Prep สำหรับนักเรียนหลายๆ คนโดยเฉพาะนักเรียนอเมริกันเอง เมื่อจบการศึกษาในระดับมัธยมแล้ว นักเรียนหลายๆ คนก็จะเลือกที่จะไม่เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นนักเรียนกลุ่มนี้จึงอาจจะเลือกระดับความยากในวิชาที่ระดับที่ไม่ยากมากนัก เนื่องจากไม่ได้ต้องการเข้ามหาวิทยาลัยและต้องการความรู้เชิงวิชาการมากเท่านักเรียนที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเลือกการเรียนในระดับ Honor Class แทน
- ESL สำหรับบางโรงเรียนที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลนักเรียนต่างชาติ ก็อาจมีการให้นักเรียนเลือกในหลักสูตร ESL โดยจะเป็นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับเนื้อหาและคำศัพท์ในวิชานั้นๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนที่ระดับภาษาอังกฤษอาจจะยังไม่ดีพอในการจะเข้าไปเรียนในระดับ Honor Class หรือ College Prep
ทั้งนี้ในส่วนของการเลือกวิชาเรียน จำนวนวิชาเรียนของโรงเรียนมัธยมในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น จะทำการเรียนการสอนประมาณ 8 วิชาในทุกระดับ กล่าวคือจะเป็นการเรียนในหลากหลายวิชา ไม่เหมือนกับประเทศอังกฤษที่ะเป็นการเรียนจำนวนวิชาน้อยแบบเจาะลึกในการเรียน 2 ปีสุดท้าย ดังนั้นหลักสูตรการเรียนของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงเหมาะกับนักเรียนที่ยังต้องการค้นหาตัวเอง และได้ทดลองเรียนในหลายๆ วิชาแบบกว้างๆ มากกว่าการเรียนแบบเจาะลึกในบางวิชาเหมือนเช่นประเทศอังกฤษ
เทอมการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา
เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ใหญ่ และมีความแตกต่างในแต่ละรัฐ ทำให้ระบบเทอมการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- Semesters เป็นระบบที่ใช้กันมากที่สุด โดยแบ่งภาคการศึกษาออกเป็น 2 ภาคคือ
- เดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม
- เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน
- Trimesters เป็นระบบที่ใช้กันไม่มากนัก แต่ก็ยังพอมีให้เห็นในบางรัฐและบางมหาวิทยาลัย โดยแบ่งภาคการศึกษาออกเป็น 3 ภาค คือ
- เดือนกันยายน - เดือนธันวาคม
- เดือนมกราคม - เดิือนมีนาคม
- เดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน
- Quarters เป็นระบบที่ใช้กันโดยมากในรัฐ Oregon และ Washington โดยแบ่งเทอมการศึกษาออกเป็น 4 เทอมคือ
- เดือนกันยายน - เดือนธันวาคม
- เดือนมกราคม - เดิือนมีนาคม
- เดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน
- เดือนกรกฎาคม - เดือนสิงหาคม (Summer Term - Optional)
ข้อแนะนำในการเลือกโรงเรียนมัธยมที่อเมริกา
ผู้ปกครองและน้องๆ มักมีคำถามว่าโรงเรียนมัธยมที่อเมริกามีจำนวนมาก แต่ไม่ทราบว่าจะเลือกโรงเรียนอย่างไร เบื้องต้นทาง GENT ขอแนะนำในปัจจัยในการเลือกโรงเรียนดังนี้
- ประเภทของโรงเรียน: ชายล้วน หญิงล้วน หรือโรงเรียนสหศึกษา ซึ่งในปัจจุบันโรงเรียนส่วนใหญ่ในอเมริกาจะเป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา และจะมีนักเรียนหญิงล้วนอยู่บ้าง แต่จะเป็นโรงเรียนเอกชนเท่านั้น
- ประเภทที่พัก: Boarding School vs Day School - Host family
- ที่ตั้งของโรงเรียน: โรงเรียนในเมืองใหญ่ (City Schools), โรงเรียนในเมืองขนาดกลางหรือชานเมือง (Town Schools - Suburb) และโรงเรียนที่อยู่นอกเมือง (Rural Schools)
- ความเข้มข้นทางด้านวิชาการ โดยสามารถดูได้จากผลงานทางวิชาการของนักเรียนในเวบไซต์ของทางโรงเรียน หรือ Ranking
- Pastoral Care: ความเอาใจใส่ การดูแลนักเรียน โดยสามารถสอบถามจากทาง GENT ได้
- ขนาดของโรงเรียน จำนวนนักเรียนในโรงเรียน และจำนวนนักเรียนในแต่ละชั้นปี
- วิชาเลือกที่โรงเรียนเปิดให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้
- กิจกรรมเสริมนอกหลักสูตรตามความสนใจของนักเรียน โดยกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะเป็นกิจกรรมชมรมนอกเหนือจากตารางเรียน อาทิเช่น
- Computer: Robotics, Computer Science, Programming, etc.
- Arts and Drama: Film Making, Dance, Drama, Visual Arts, etc.
- Sports: Golf, Football, Soccer, Basketball, etc.
- Business: Entrepreneurship, Finance, Stock, Leadership, etc.
- Hospitality: Culinary, Cooking, Tourism, etc.
- งบประมาณ
ประเภทของโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาและแนะนำโรงเรียนในอเมริกาที่น่าสนใจ
1. โรงเรียนรัฐบาล (State School) นักเรียนต่างชาติสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลได้ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนและวีซ่าแบบ J-1 เท่านั้น โดยนักเรียนต่างชาติสามารถเรียนได้สูงสุดในโรงเรียนรัฐบาลไม่เกิน 1 ปีการศึกษา และไม่สามารถจบการศึกษาและได้วุฒิการศึกษา (High School Diploma) จากโรงเรียนรัฐบาลได้
2. โรงเรียนเอกชน (Private School) เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความกว้างใหญ่และมีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม หรือบริเวณที่ตั้ง ดังนั้นจึงทำให้การเรียนต่อมัธยมในประเทศสหรัฐมอเมริกานั้นมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน โดยเริ่มต้นที่ประมาณปีละ 6 แสนบาทสำหรับโรงเรียนในเมืองหรือรัฐที่อยู่ไกลความเจริญ หรืออาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 2 ล้านบาทต่อปีสำหรับโรงเรียนเอกชนชั้นนำที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่และมีความเข้นข้นทางด้านวิชาการในการเตรียมความพร้อมนักเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ
นอกจากนี้โรงเรียนมัธยมในอเมริกา สามารถแบ่งออกได้ตามประเภทที่พักคือ
1. Day School พักกับโฮสต์แฟมิลี่
2. Boarding School โดยนักเรียนจะพักกับหอพักในโรงเรียน และโรงเรียนเป็นผู้ดูแล อย่างไรก็ตามในช่วงปิดเทอม บางโรงเรียนอาจจะให้นักเรียนต้องออกจากหอพัก ซึ่งนักเรียนจะต้องหาโฮสต์ในการพักช่วงปิดเทอม โดยสามารถติดต่อกับทางโรงเรียนให้ช่วยเหลือในการหาโฮสต์แฟมิลี่ได้
สำหรับโรงเรียนมัธยมในอเมริกาแบบประจำ (Boarding Schools) ที่น่าสนใจอาทิ Burr and Burton Academy, The Webb, The Athenian, Nebraska Christian School, Oregon Episcopal School, Wisconsin Lutheran High School, St Mary's School - Medford เป็นต้น
สำหรับโรงเรียนมัธยมในอเมริกาแบบไปกลับ (Day School) โดยจะพักกับโฮสต์แฟมิลี่ ที่น่าสนใจอาทิ Bethlehem Catholic High School, Catholic Central High School, Christian School of York, Immaculate Heart Central High School, Notre Dame Academy เป็นต้น